วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นิยามของคำว่า"วิทยาศาสตร์"

วิทยาศาสตร์ - Science

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากระบวนการดังกล่าว
การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้
กาลิเลโอ : บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่าscientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ
โดยทั่วไปเราถือกันว่า วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มต้นในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ โดยมี "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่" คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
·         ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
·         ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์
ในเวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่นๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่อง Rules for the Direction of the Mind โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดย โป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่นๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียวที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้
ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์ขยะ" หรือ ศาสตร์ปลอม
ปรัชญาวิทยาศาสตร์
ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของวิทยาศาสตร์ในประวัติศาสตร์มนุษย์ ได้สร้างประเด็นคำถามทางปรัชญาไว้มากมาย. โดยนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ได้ตั้งคำถามทางปรัชญาที่สำคัญดังนี้
·  สิ่งใดเป็นตัวแบ่งแยกความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับความรู้ประเภทอื่นๆ เช่น โหราศาสตร์
·  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความจริงหรือไม่
·  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชื่อถือได้แค่ไหน
·  วิทยาศาสตร์มีประโยชน์จริงๆ หรือไม่
·  ศีลธรรมของวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม คือรูปแบบใด
ประเด็นเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักปรัชญาวิทยาศาสตร์อย่างมากในปัจจุบัน และไม่มีความเห็นใดที่ได้รับการยอมรับทั่วไปอีกเลยทีเดียว
สาขาของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
·         สวนศาสตร์ (Acoustics)
·         Astrodynamics (eng)
·         ดาราศาสตร์ (Astronomy)
·         ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (Astrophysics)
·         ชีวฟิสิกส์ (Biophysics)
·         Condensed matter physics (eng)
·         จักรวาลวิทยา (Cosmology)
·         อติสีตศาสตร์ (Cryogenics)
·         พลศาสตร์ (Dynamics)
·         พลศาสตร์ของไหล (Fluid dynamics)
·         Materials physics (eng)
·         Mathematical physics (eng)
·         กลศาสตร์ (Mechanics)
·         นิวเคลียร์ฟิสิกส์ (Nuclear physics)
·         ทัศนศาสตร์ (Optics)
·         Particle physics (eng) (or High Energy Physics)
·         Vehicle dynamics (eng)
·         เคมีวิเคราะห์ (Analytical chemistry)
·         ชีวเคมี (Biochemistry)
·         เคมีการคำนวณ(Computational chemistry)
·         เคมีไฟฟ้า(Electrochemistry)
·         เคมีอนินทรีย์ (Inorganic chemistry)
·         วัสดุศาสตร์(Materials science)
·         เคมีอินทรีย์ (Organic chemistry)
·         เคมีฟิสิกส์(Physical chemistry)
·         เคมีควอนตัม (Quantum chemistry)
·         สเปกโตรสโคปี(Spectroscopy)
·         สเตอริโอเคมิสตรี(Stereochemistry)
·         เคมีความร้อน (Thermochemistry)
·         ภูมิมาตรศาสตร์ (Geodesy)
·         ภูมิศาสตร์ (Geography)
·         ธรณีวิทยา (Geology)
·         อุตุนิยมวิทยา (Meteorology)
·         สมุทรศาสตร์ (Oceanography)
·         บรรพชีวินวิทยา (Paleontology)
·         ชลธารวิทยา (Limnology)
·         วิทยาแผ่นดินไหว (Seismology)
·         กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)
·         ชีววิทยาดาราศาสตร์ (Astrobiology)
·         ชีวเคมี (Biochemistry)
·         ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics)
·         ชีวฟิสิกส์ (Biophysics)
·         พฤกษศาสตร์ (Botany)
·         ชีววิทยาของเซลล์(Cell biology) (eng)
·         Cladistics (eng)
·         วิทยาเซลล์ (Cytology)
·         Developmental biology (eng
·         นิเวศวิทยา (Ecology)
·         กีฏวิทยา (Entomology)
·         วิทยาการระบาด (Epidemiology)
·         Freshwater Biology (eng)
·         พันธุศาสตร์ (Genetics) (Population genetics), (Genomics), (Proteomics)
·         มิญชวิทยา (Histology)
·         มีนวิทยา (Ichtyology)
·         วิทยาภูมิคุ้มกัน (Immunology
·         จุลชีววิทยา (Microbiology)
·         อณูชีววิทยา (Molecular Biology)
·         สัณฐานวิทยา (Morphology)
·         ประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience)
·         ปักษิณวิทยา (Ornithology)
·         บรรพชีววิทยา (Palaeobiology)
·         สาหร่ายวิทยา Phycology (eng) หรือ (Algology)
·         Physical anthropology (eng
·         สรีรวิทยา (Physiology)
·         Structural biology (eng)
·         อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
·         พิษวิทยา (Toxicology)
·         วิทยาไวรัส (Virology)
·         สัตววิทยา (Zoology)
วิทยาศาสตร์ประยุกต์
·         Systemics
·         ทันตแพทยศาสตร์ (Dentistry)
·         ทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry)
·         แพทยศาสตร์ (Medicine)
·         เนื้องอกวิทยา (Oncology)
·         พยาธิวิทยา (Pathology)
·         อายุรเวช
·         เวชศาสตร์
·         เภสัชวิทยา (Pharmacology)
·         พิษวิทยา (Toxicology)
·         สัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary medicine)
·         เคมีคลินิค
วิทยาศาสตร์สังคม
·         Phonology
·         ปรัชญา (en:Philosophy)
·         Behavior analysis
·         Biopsychology
·         Cognitive psychology
·         Clinical psychology
·         Developmental psychology
·         Educational psychology
·         Experimental psychology
·         Forensic psychology
·         Health psychology
·         Humanistic psychology
·         Neuropsychology
·         Personality psychology
·         Psychometrics
·         Psychology of religion
·         Psychophysics
·         Social psychology
วิทยาศาสตร์การทหาร
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
อ้างอิง
1.  บทความ Epilogue ใน "Judea Pearl: Causality, Cambridge University Press, ISBN 0-521-77362-8" เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ไว้อย่างเรียบง่าย และน่าติดตาม
2.  Feynman Richard. The Feynman Lecture Notes on Physics. Addison-wesley, 1971.
3.  Morris Kilne. Mathematics for the Non-mathematician. Dover Publication, 1985.
4.  TH-wikipedia วิทยาศาสตร์
5.  136 นิตยสารสารคดี
แหล่งข้อมูลอื่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น